การร้องทุกข์มีวันหยุดราชการหรือไม่ ?
การร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒(๗) หากวันสุดท้ายของการร้องทุกข์เป็นวันหยุดราชการ
จะนำมาตรา ๑๙๓/๘ ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี
ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา”
มาบังคับใช้หรือไม่ ซึ่งจะมีผลต่อคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวเพราะหากไม่มีการร้องทุกข์ภายในอายุความพนักงานสอบสวนจะสอบสวนไม่ได้และเมื่อไม่มีการสอบสวนก็ตัดอำนาจพนักงานอัยการในการฟ้องคดี
ตามมาตรา ๑๒๐ และ ๑๒๑
สำหรับประเด็นดังกล่าว
การร้องทุกข์ไม่มีวันหยุดราชการ ดังนั้นหากวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการก็ต้องไปร้องทุกข์
มิฉะนั้นคดีดังกล่าวจะขาดอายุความ ดูคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๗๗๗/๒๕๕๔
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1777/2554
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้ง
จ. เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกแล้วย่อมถือว่า จ. เป็นตัวแทนของทายาททั้งหมด มีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดก
ทั้งดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาต่อผู้ที่กระทำความเสียหายแก่กองมรดกด้วย ดังนั้นเมื่อ
จ. นำคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกไปดำเนินการที่ธนาคาร ก. สาขาวังทอง
เพื่อขอรับเงินในบัญชีของเจ้ามรดก แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารแจ้งว่าจำเลยนำคำสั่งศาลแต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการ
มรดกมารับเงินในบัญชีไปแล้ว ย่อมถือว่า จ. รู้เรื่องผู้กระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว
และต้องถือว่าโจทก์ร่วมในฐานะทายาททราบเรื่องกระทำผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด แล้วด้วย
แม้วันสุดท้ายที่โจทก์ร่วมมีสิทธิร้องทุกข์
จะตรงกับวันหยุดราชการ แต่การร้องทุกข์สามารถกระทำได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ โจทก์ร่วมไม่ร้องทุกข์ในวันสุดท้าย
คดีจึงขาดอายุความ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เห็นกันอย่างไร เสนอความเห็นกันหน่อยเร็ว !!!!!