ประกาศจากแอดมิน



กำลังปรับปรุงนะครับ อีกสักพักคงได้พบกับ
Spiderlaw แบบเต็มรูปแบบครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีการลักทรัพย์ของเจ้าของรวม


วิธีการลักทรัพย์ของเจ้าของรวม
LSPK
                                มาตรา ๓๓๔ บัญญัติว่า ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ...

            เมื่ออ่านหัวข้อแล้วอาจตกใจกันว่า เอ้ย !! บล็อกนี้สอนให้คนลักทรัพย์หรือหรือไง ฮ่า ๆ ๆ  ไม่ใช่อย่างนั้นครับ สำหรับบล็อกนี้ในหัวข้อ “วิธีการลักทรัพย์เจ้าของรวม” นั้น มุ่งที่จะบอกว่าการลักทรัพย์เจ้าของรวมกันก็เป็นความผิดได้นะ เพราะหลาย ๆ คนอาจคิดว่าเจ้าของรวมเอาทรัพย์ไปน่าจะผิดยักยอกทรัพย์มากกว่าเพราะผู้ที่เอาทรัพย์ไปนั้นน่าจะครอบครองทรัพย์ดังกล่าวอยู่ แล้วจะผิดมาตรา ๓๓๔ ได้อย่างไร

            ก่อนที่เราจะลงในรายละเอียดว่าจะลักทรัพย์กันอย่างไรได้บ้างนั้น เมื่อดูในมาตรา ๓๓๔ แล้วจะพบว่าการเอาทรัพย์ของเจ้าของรวมไปก็อาจมีความผิดฐานลักทรัพย์ได้ ศึกษาได้ดังนี้ครับ

คุณธรรมในทางกฎหมายของความผิดฐานลักทรัพย์[1]

๑.     กรรมสิทธิ์-สิทธิ์ในความเป็นเจ้าของ

๒.     การครอบครอง
            การจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้นั้นต้องปรากฏว่า ผู้กระทำได้ทำร้ายคุณธรรมในทางกฎหมายทั้งสองประการคือต้องมีการทำลายกรรมสิทธิ์กล่าวคือ จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของในทรัพย์สินที่เอาไป และต้องเป็นการทำลายการครอบครองด้วยกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ จำเลยไม่ได้ครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ในขณะที่เอาไป แม้ว่าการครอบครองและกรรมสิทธิ์จะอยู่ที่คนละคนกันก็ตาม
            เมื่อการลักทรัพย์ต้องมีการทำลายคุณธรรมในทางกฎหมายทั้งสองประการ ดังนั้นการลักทรัพย์ของเจ้าของรวมจะเกิดขึ้นได้ต้องปรากฏว่า จำเลยไม่ได้มีการครอบครองอยู่ในขณะนั้น และจำเลยไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เอาไปแต่เพียงผู้เดียว(กรรมสิทธิ์รวม) ตัวอย่างเช่น
            ก. และ ข.ได้ลงหุ้นซื้อรถยนต์หนึ่งคน เป็นทรัพย์สินที่ถือกรรมสิทธิ์รวมกัน โดยมีข้อตกลงแบ่งการครอบครองกันอย่างเด็ดขาดเช่น ในครึ่งปีแรกให้ นาย ก. เป็นผู้ครอบครอง ครึ่งปีหลังให้นาย ข. เป็นผู้ครอบครอง เช่นนี้ขณะที่รถยนต์คันดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของ นาย ก. นาย ข. ย่อมไม่มีการครอบครอง ดังนั้นหากในเวลาดังกล่าวนาย ข. ได้เอาทรัพย์ไป ก็อาจมีความผิดฐานลักทรัพย์ได้  (ต้องไปดูโครงสร้างอื่น ๆ ด้วย)


[1] คุณธรรมในทางกฎหมายคือสิ่งที่กฎหมายมุ่งประสงค์จะคุ้มครอง

1 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาสาระยังคงเหมือนเดิมนะครับ แต่จะเปลี่ยนรูปแบบโดยจะไม่ลงไฟล์เสียงที่เป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นนะครับ เพราะคิดว่ามันคงไม่ดีหากเราทำอย่างนั้น ไว้โอกาสหน้าจะได้นำไฟล์เสียงต่าง ๆ มาเผยแพร่นะครับ

    ตอบลบ

เห็นกันอย่างไร เสนอความเห็นกันหน่อยเร็ว !!!!!