ประกาศจากแอดมิน



กำลังปรับปรุงนะครับ อีกสักพักคงได้พบกับ
Spiderlaw แบบเต็มรูปแบบครับ

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา 1

บันทึกคำบรรยาย ม.รามคำแหง

วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา  ( LAW 3007 )

บรรยายโดย อ.สมชัย ฑีฆาอุตมากร

บรรยายครั้งที่ 1

ข้อมูลเบื้องต้น

1.       วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้น
2.       วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นสาขาคดีที่แตกตัวออกมาจากคดีหลัก และคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา สามารถอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228 (2) โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนทุนทรัพย์แต่อย่างใด และไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์-ฎีกาในข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายก็ย่อมอุทธรณ์-ฎีกาได้
3.       ด้วยเหตุที่วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นสาขาคดี ส่งผลให้หากคดีหลักถึงที่สุด ในระหว่างที่คดีสาขาอยู่ในชั้นอุทธรณ์-ฎีกา ย่อมไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลจะพิจารณาต่อไป ชอบที่จะจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้
4.       วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นคำร้องที่ต้องมีการไต่สวนคำร้องก่อนอนุญาต โดยไม่นำบทบัญญัติว่าด้วยการขาดนัดฯ มาใช้ โดยสามารถไต่สวนฝ่ายเดียวได้เลย เพราะการไต่สวนไม่มีการออกหมายเรียกให้แก้คดีเพียงแต่ออกหมายนัดให้ยื่นคำคัดค้าน ซึ่งหากไม่ยื่นคำคัดค้านถือว่าไม่มีการคัดค้าน

แบ่งศึกษาออกเป็น 3 หัวข้อ
1.       จำเลยขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ( มาตรา 253 และมาตรา 253 ทวิ )
2.       โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ( มาตรา 254 )
3.       คู่ความขอคุ้มครองประโยชน์ ( มาตรา 264 )