ประกาศจากแอดมิน



กำลังปรับปรุงนะครับ อีกสักพักคงได้พบกับ
Spiderlaw แบบเต็มรูปแบบครับ

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา 1

บันทึกคำบรรยาย ม.รามคำแหง

วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา  ( LAW 3007 )

บรรยายโดย อ.สมชัย ฑีฆาอุตมากร

บรรยายครั้งที่ 1

ข้อมูลเบื้องต้น

1.       วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้น
2.       วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นสาขาคดีที่แตกตัวออกมาจากคดีหลัก และคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา สามารถอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228 (2) โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนทุนทรัพย์แต่อย่างใด และไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์-ฎีกาในข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายก็ย่อมอุทธรณ์-ฎีกาได้
3.       ด้วยเหตุที่วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นสาขาคดี ส่งผลให้หากคดีหลักถึงที่สุด ในระหว่างที่คดีสาขาอยู่ในชั้นอุทธรณ์-ฎีกา ย่อมไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลจะพิจารณาต่อไป ชอบที่จะจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้
4.       วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นคำร้องที่ต้องมีการไต่สวนคำร้องก่อนอนุญาต โดยไม่นำบทบัญญัติว่าด้วยการขาดนัดฯ มาใช้ โดยสามารถไต่สวนฝ่ายเดียวได้เลย เพราะการไต่สวนไม่มีการออกหมายเรียกให้แก้คดีเพียงแต่ออกหมายนัดให้ยื่นคำคัดค้าน ซึ่งหากไม่ยื่นคำคัดค้านถือว่าไม่มีการคัดค้าน

แบ่งศึกษาออกเป็น 3 หัวข้อ
1.       จำเลยขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ( มาตรา 253 และมาตรา 253 ทวิ )
2.       โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ( มาตรา 254 )
3.       คู่ความขอคุ้มครองประโยชน์ ( มาตรา 264 )

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กฎหมายภาษี (ปกติ) เนติบัณฑิตยสภา ภาคหนึ่ง สมัย ๖๕ บรรยายโดย ศาสตราจารย์ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม


กฎหมายภาษี (ปกติ) เนติบัณฑิตยสภา ภาคหนึ่ง สมัย ๖๕
บรรยายโดย ศาสตราจารย์ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม

๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๕
รายจ่าย
        รายจ่ายหมายถึงต้นทุนที่หมดสิ้นไป และค่าใช้จ่ายที่สูญเสียไปเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ รายจ่ายเพื่อหากำไรและรายจ่ายเพื่อการลงทุน


ขณะทางแอดมินไม่สบาย...จึงขอยหยุดการโพสต์บทความชั่วคราวนะครับ



นายแมงมุม

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภาษีอากร ตอนที่ ๓ ศ.(พิเศษ) ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม


กฎหมายภาษี (ปกติ) เนติบัณฑิตยสภา ภาคหนึ่ง สมัย ๖๗
บรรยายโดย ศาสตราจารย์ชัยสิทธิ์  ตราชูธรรม
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๕
การเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ

        บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยส่วนใหญ่จะเสียจากฐานกำไรสุทธิ ซึ่งจะเสียรอบระยะเวลาบัญชีละ ๒ ครั้ง ครั้งที่หนึ่ง เสียภายในสองเดือนนับจากวันครบหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ครั้งที่สอง เสียภายใน ๑๕๐ วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
        รอบระยะเวลาบัญชี หมายถึงระยะเวลา ๑๒ เดือน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นและสิ้นสุดตามระยะเวลาปฏิทิน (ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับปีภาษี—๑ มกราคม – ๓๑ ธันวาคม) แต่บริษัทในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเริ่มต้นตามปีปฏิทิน แต่บริษัทญี่ปุ่นในไทยจะเริ่มต้น ๑ เมษายน ส่วนบางบริษัทจะเริ่มต้นตามฤดูกาลเช่น บริษัทผลิตน้ำตาล เริ่มต้น ๑ กรกฎาคม หรืออาจเริ่มต้นและสิ้นสุดตามปีงบประมาณแผ่นดินก็ได้ (กฎหมายไม่กำหนดว่าจะต้องเริ่มต้นเมื่อใด)

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตอนที่ ๒


กฎหมายภาษี (ปกติ) เนติบัณฑิตยสภา ภาคหนึ่ง สมัย ๖๕
บรรยายโดย ศาสตราจารย์ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม

๖ มิถุนายน ๒๕๕๕
วิธีเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ประมวลรัษฎากร ได้กำหนดวิธีเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ ๕ วิธี
๑.     การเสียจากฐานกำไรสุทธิ
๒.     เสียจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ
๓.     เสียจากการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ
๔.     วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย
๕.     วิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
ฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ
มูลนิธิหรือสมาคมที่มิใช่องค์การสาธารณกุศล
        มูลนิธิหรือสมาคมที่มิใช่องค์การสาธารณกุศล ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังถือเป็นบริษัท ต้องเสียจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตรา   ๑๐ % โดยไม่คำนึงว่าจะมีกำไร-ขาดทุน รอบบัญชีไหนได้รับเงินมาเท่าไรไม่ต้องคำนึงถึงต้นทุน ค่าใช้จ่าย ให้นำเงินที่ได้รับนั้นมาเสียภาษี ๑๐ % เช่น สมาคมให้เช่าที่ดินได้รับเงินค่าเช่าที่ดิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทตลอดปี ต้องเสียภาษี ๑๐ % คือ ๑๐๐,๐๐๐ บาท และเสียเพียงรอบบัญชีละหนึ่งครั้ง
        มูลนิธิที่เสียอัตราร้อยละ ๑๐ ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ นั้นมีข้อยกเว้น หากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๘) จะเสียเพียง  % เท่านั้น เช่นสมาคมมีการขายสินค้า-ทรัพย์สิน เงินได้จากการขายสินค้า-ทรัพย์ (เงินได้ตามมาตรา ๔๐ (๘)) ให้เสียในอัตราร้อยละ ๒  เงินได้นอกจากนั้นตามมาตรา ๔๐ (๒), (๗) ต้องเสียอัตราร้อยละ ๑๐