กฎหมายภาษี (ปกติ) เนติบัณฑิตยสภา ภาคหนึ่ง สมัย ๖๕
บรรยายโดย ศาสตราจารย์ชัยสิทธิ์
ตราชูธรรม
๖ มิถุนายน
๒๕๕๕
วิธีเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ประมวลรัษฎากร
ได้กำหนดวิธีเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ ๕ วิธี
๑.
การเสียจากฐานกำไรสุทธิ
๒.
เสียจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด
ๆ
๓.
เสียจากการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ
๔.
วิธีหักภาษี
ณ ที่จ่าย
๕.
วิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
ฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ
มูลนิธิหรือสมาคมที่มิใช่องค์การสาธารณกุศล
มูลนิธิหรือสมาคมที่มิใช่องค์การสาธารณกุศล
ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังถือเป็นบริษัท
ต้องเสียจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตรา
๑๐ % โดยไม่คำนึงว่าจะมีกำไร-ขาดทุน
รอบบัญชีไหนได้รับเงินมาเท่าไรไม่ต้องคำนึงถึงต้นทุน ค่าใช้จ่าย
ให้นำเงินที่ได้รับนั้นมาเสียภาษี ๑๐ %
เช่น
สมาคมให้เช่าที่ดินได้รับเงินค่าเช่าที่ดิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทตลอดปี ต้องเสียภาษี ๑๐ % คือ
๑๐๐,๐๐๐ บาท และเสียเพียงรอบบัญชีละหนึ่งครั้ง
มูลนิธิที่เสียอัตราร้อยละ ๑๐
ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ นั้นมีข้อยกเว้น
หากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๘)
จะเสียเพียง ๒ % เท่านั้น
เช่นสมาคมมีการขายสินค้า-ทรัพย์สิน เงินได้จากการขายสินค้า-ทรัพย์
(เงินได้ตามมาตรา ๔๐ (๘)) ให้เสียในอัตราร้อยละ ๒ เงินได้นอกจากนั้นตามมาตรา ๔๐ (๒), (๗)
ต้องเสียอัตราร้อยละ ๑๐
นิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ
มาตรา ๖๗ การเสียภาษีตามความในส่วนนี้
ให้เสียตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวดนี้ เว้นแต่
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง กระทำกิจการขนส่งผ่านประเทศต่าง
ๆ ให้เสียภาษีเฉพาะกิจการขนส่งตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีรับขนคนโดยสาร
ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ ๓ ของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม
และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด
ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น
(๒) ในกรณีรับขนของ
ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ ๓ ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม
และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทย ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทยนั้น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา ๖๖
วรรคสอง
มาตรา ๖๖ วรรคสอง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทำกิจการในที่อื่น
ๆ รวมทั้งในประเทศไทย ให้เสียภาษีในกำไรสุทธิจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชี
และการคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๕ ทวิ
แต่ถ้าไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิดังแล้วแล้วได้
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษีตามมาตรา ๗๑ (๑) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
นิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ
(ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ)
ต้องเสียภาษีจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตรา ๓ % ให้สังเกตว่าต้องเป็นนิติบุคคลต่างประเทศและประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ
จึงจะเสียภาษีจากฐานรายได้ซึ่งคือค่าขนส่งและค่าโดยสาร ในอัตราร้อยละ ๓ และเสียรอบบัญชีละ
๑ ครั้ง
คำถาม บริษัทการบินไทยประกอบกิจการการบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
รายได้จากการบินระหว่างประเทศจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ ๓ หรือไม่ ?
คำตอบ ไม่ได้เสียภาษีในอัตราร้อยละ
๓ เพราะไม่ครบองค์ประกอบ คือ ไม่ได้เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ (บริษัทการบินไทยเป็นนิติบุคคลของไทย)
ดังนั้นจึงไม่ต้องเสียตามอัตราภาษีร้อยละ ๓ แต่ต้องเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ
(รอบบัญชีละ ๒ ครั้ง)
มาตรา ๖๗
มีข้อยกเว้นตามอนุสัญญาภาษีซ้อน
สายการบินต่างประเทศที่มาประกอบธุรกิจการบินในประเทศไทย
ตามปกติต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ ๓ จากเงินที่ได้จากการประกอบกิจการดังกล่าว
แต่เมื่อดูอนุสัญญาภาษีซ้อน จะมีข้อยกเว้นว่า
รายได้จากการเดินอากาศยานระหว่างประเทศคู่สัญญาได้รับยกเว้นภาษีในประเทศแหล่งเงินได้
ดังนั้นสายการบินต่าง ๆ ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
(ฉะนั้นกล่าวได้ว่าสายการบินส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยเนื่องจากมีอนุสัญญาภาษีซ้อน)
การยกเว้นตามอนุสัญญาภาษีซ้อนนั้นยกเว้นให้เฉพาะรายได้จากการเดินอากาศยานระหว่างประเทศเท่านั้น
หากเป็นรายได้จากการเดินเรือทะเลไม่ได้รับการยกเว้นภาษีแต่จะได้รับการลดอัตราภาษีครึ่งหนึ่งจากร้อยละ
๓ เป็นร้อยละ ๑.๕ ของค่าโดยสาร-ค่าขนส่ง
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๗๑ (๑)
มาตรา ๗๑ ในกรณีที่
(๑) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด
ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้
หรือมิได้ทำบัญชีหรือทำไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๖๘ ทวิ
หรือไม่นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา
๑๙ หรือมาตรา ๒๓ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ
๕ ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ
ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากว่า ถ้ายอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายดังกล่าวไม่ปรากฏ
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยอาศัยเทียบเคียงกับยอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไป
ถ้ายอดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนนั้นขึ้นไปไม่ปรากฏให้ประเมินได้ตามที่เห็นสมควร
เหตุที่ต้องลงโทษ
๑.
ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
๒.
ไม่ทำบัญชีหรือทำแต่ไม่ครบตามที่มาตรา
๑๗ และมาตรา ๖๘ ทวิ กำหนด
๓.
ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นให้พนักงานประเมินทำการไต่สวนตามหมายเรียก
ตามมาตรา ๑๙ และ ๒๓
มี ๓
เหตุที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด
ๆ ในอัตราร้อยละ ๕
เพียงเหตุใดเหตุหนึ่งเจ้าพนักงานก็มีอำนาจประเมินจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายร้อยละ
๕ แล้ว
ดังนั้นแม้กิจการขาดทุนก็สามารถถูกประเมินภาษีได้หากเข้าตามเงื่อนไขดังกล่าวมาแล้ว
เสียจากการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ (มาตรา ๗๐
ทวิ)
(ภาษีกำไรส่งออก)
มาตรา ๗๐ ทวิ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดจำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
ให้เสียภาษีเงินได้โดยหักภาษีจากจำนวนเงินที่จำหน่ายนั้นตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแล้วนำส่งอำเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันจำหน่าย
การจำหน่ายเงินกำไรตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึง
(๑) การจำหน่ายกำไร
หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร
จากบัญชีกำไรขาดทุนหรือบัญชีอื่นใด ไปชำระหนี้หรือหักกลบลบหนี้
หรือไปตั้งเป็นยอดเจ้าหนี้ในบัญชีของบุคคลใด ๆ ในต่างประเทศ หรือ
(๒)
ในกรณีที่มิได้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวใน (๑)
แต่ได้มีการขออนุญาตซื้อและโอนเงินตราต่างประเทศซึ่งเป็นเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร
ออกไปต่างประเทศ หรือ
(๓)
การปฏิบัติอย่างอื่นซึ่งก่อให้เกิดผลตาม (๑) หรือ (๒)
ข้อควรจำ
กำไรที่ได้ต้องเสียภาษีตามวิธีที่ ๑
คือจากฐานกำไรสุทธิ ซึ่งอัตราเดิมคือ ๒๓ %
(๑ มกราคม – ๓๑
ธันวาคม ๒๕๕๕) ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไปใช้อัตรา ร้อยละ ๒๐
สำหรับบริษัทต่างประเทศเมื่อมีกำไรจากการประกอบธุรกิจในประเทศแล้วก็จะส่งกำไรออกไปต่างประเทศ
กำไรที่ส่งออกไปนี้ต้องเสียภาษีตามมาตรา ๗๐ ทวิ อีก ๑๐ %
ดังนั้นสรุปได้ว่า
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเมื่อมีกำไร
๑.
ต้องเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ
๒.
ต้องเสียภาษีตามมาตรา
๗๐ ทวิ อีก ๑๐ % เมื่อส่งกำไรออกไปต่างประเทศ
ตัวอย่างเช่น บริษัท เลิศศักดิ์ จำกัด
เป็นบริษัทที่จดทะเบียนที่ประเทศญี่ปุ่น แต่มาเปิดสาขาในประเทศไทย บริษัท
เลิศศักดิ์ จำกัด ต้องเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ ๒๓ %
ในปี ๒๕๕๕ บริษัท
เลิศศักดิ์ จำกัด มีกำไร ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต้องเสียภาษีตามวิธีที่ ๑ อัตรา ๒๓ % เป็นเงิน
๒๓๐ ล้านบาท ที่เหลืออีก ๗๗๐ ล้านบาท หากไม่โอนไปต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียภาษี
แต่เมื่อมีการส่งไปต่างประเทศก็ต้องเสียภาษีตามมาตรา ๗๐ ทวิ หากโอนไป ๗๗๐ ล้าน
ก็ต้องเสียในอัตรา ๑๐ % คือ ๗๗ ล้านบาท
วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย
เป็นวิธีเสียภาษีทีกำหนดให้ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่คำนวณและหักภาษีและนำส่งกรมสรรพากรในขณะที่มีการจ่ายเงิน
เช่น คนมีเงินเดือน (จะได้รับเงินเดือนไม่เต็มเพราะจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย) โดยนายจ้างจะคำนวณภาษีและหักเงินเดือนเอาไว้แล้วนำส่งกรมสรรพากร
ซึ่งภาษีที่ถูกหักนั้นเป็นภาษีล่วงหน้า
สิ้นปีผู้เสียภาษีต้องยื่นแบบและคำนวณภาษีทั้งปี
จากนั้นให้เอาภาษีที่จ่ายไปแล้วมาหักออก (เครดิต) และหากถูกนายจ้างคำนวณภาษี ณ
ที่จ่ายเกินไปก็มีสิทธิขอคืน (การเสียภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการจ่ายภาษีล่วงหน้า)
หากผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้หักเงิน ณ ที่จ่าย
ก็ต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้เสียภาษี กรมสรรพากรมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษี
ณ ที่จ่ายจากผู้จ่ายเงินได้นั้นได้ –เป็นหนี้ร่วมที่เกิดขึ้นโดยกฎหมาย
กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ไม่ใช่ว่าผู้จ่ายเงินได้ทุกคนต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายฯ จะมีหน้าที่หักภาษี ณ
ที่จ่าย ต่อเมื่อมีกฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ หากไม่มีกฎหมายกำหนดก็ไม่ต้องหักภาษี ณ
ที่จ่าย
กฎหมายที่ว่านั้นคือ ประมวลรัษฎากร
ซึ่งกำหนดเอาไว้ ๓ มาตราคือ


v ผู้จ่ายต้องเป็นภาคราชการ
v ผู้รับเงินต้องเป็นนิติบุคคล
(บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล)
ภายใต้บังคับมาตรา ๗๐ หมายความว่า หากเป็นกรณีตามมาตรา ๗๐ แล้วจะต้องหักภาษี
ณ ที่จ่ายตามมาตรา ๗๐ (ออกข้อสอบบ่อย)

องค์ประกอบมาตรา
๗๐
v ผู้มีเงินได้หรือผู้รับเงินต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
คือไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
v มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
v ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐
(๒)-(๖) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
หากเข้าองค์ประกอบครบถ้วนดังที่กล่าวมาแล้ว
ผู้จ่ายเงินไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา ๑๕ % ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด
ๆ เว้นแต่เงินปันผลที่ให้หักเพียง ๑๐ % (มาตรา ๗๐ เป็นข้อยกเว้นของมาตรา ๖๙
ทวิ)
คำถาม กระทรวงยุติธรรมทำสัญญากับ บริษัท
เลิศศักดิ์ จำกัด ในประเทศไทยให้จัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับกระทรวงฯ ค่าจ้าง ๑๐
ล้านบาท เวลากระทรวงยุติธรรมจ่ายเงินจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ?
คำตอบ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ๑ %
เพราะว่า
Ø ผู้จ่ายเงินเป็นรัฐบาล
(กระทรวงยุติธรรม) และ
Ø ผู้รับเงินเป็นบริษัทในประเทศไทย
รายได้ตามตัวอย่างข้างต้นเป็นรายได้ตามมาตรา
๔๐ (๓) ค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ถือเป็นค่าสิทธิ์อย่างหนึ่ง
หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปว่า บริษัท
เลิศศักดิ์ อเมริกัน จำกัด ไม่ใช่บริษัทตามกฎหมายไทย และไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
แต่เป็นบริษัทตามกฎหมายต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรมจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ
๑๕ เพราะผู้รับเงินไม่ใช่บริษัทไทย และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
มีรายได้ตามมาตรา ๔๐ (๓)
หากบริษัท เลิศศักดิ์ อเมริกัน จำกัด
ซึ่งอยู่ที่อเมริกาได้มาตั้งสาขาในประเทศไทย มีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทย
และได้เข้าทำสัญญาให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่กระทรวงยุติธรรม
เมื่อกระทรวงยุติธรรมจ่ายเงิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาทจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เท่าไร?
กรณีนี้ไม่เข้าตามมาตรา ๗๐
แต่เข้าตามมาตรา ๖๙ ทวิ จึงต้องเสียในอัตราร้อยละ ๑

v ร้อยละ๑
v รายละเอียดดังนี้
§ เงินได้ตามมาตรา ๔๐ (๘) เฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์
§ ผู้มีเงินได้คือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัท
§ ผู้จ่ายมีได้หลายคนคือ บุคคล ห้างหุ้นส่วน
บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล
(หมายเหตุ :
อาจารย์ให้ดูมาตรา ๓
เตรส (เต-ระ-สะ) ปล. ขี้เกียจเชื่อมโยงนะครับ)
คำถาม บริษัท เลิศศักดิ์ จำกัด เช่าตึกแถวจากนาย ก.
ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ค่าเช่าเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท เวลาจ่ายค่าเช่าให้นาย ก.
บริษัทผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ?
v ผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดา ดูมาตรา ๕๐ (๓) ว่าใช้ได้หรือไม่
กรณีค่าเช่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๕) และได้จ่ายให้แก่ผู้รับเงินซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เมื่อนาย ก.
เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจึงไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ๑๕ %
v ดูมาตรา ๕๐ (๔)
ก็ไม่เข้าเนื่องจากผู้จ่ายเงินไม่ใช่ภาคราชการ
v และในทุก ๆ อนุมาตราก็หักไม่ได้
v ดูคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรที่อาศัยอำนาจตามมาตรา
๓ เตรส กำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ซึ่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. ๔/๒๕๒๘[1]
ดูข้อที่ ๖ (๑)
v ดังนั้น บริษัทผู้จ่ายค่าเช่าต้องหักภาษี
ณ ที่จ่าย ๕ % ของค่าเช่าที่จ่าย
·
ข้อสังเกตคือว่า
ตามข้อ ๖ ของคำสั่งดังกล่าวนั้น บริษัทผู้เช่าต้องเป็นนิติบุคคล หากเป็นบุคคลธรรมดาไม่ต้องหักภาษี
ณ ที่จ่าย
กรณีบุคคลธรรมดาจ่ายค่าเช่าให้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย
ไม่เข้ามาตรา ๕๐ (๓) เพราะต้องเช่าจากบุคคลที่มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
และไม่เข้า ข้อ ๖
ของคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวเพราะผู้เช่ามิใช่นิติบุคคลและไม่ปรากฏตามคำสั่งดังกล่าวอีก
จึงไม่ต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย
สรุปหลักการจ่ายภาษี
ณ ที่จ่าย (หน้า ๕๒๑ ของอาจารย์)
๑.
ให้ศึกษาว่าการจ่ายเงินได้นั้น
บทบัญญัติของประมวลรัษฎากรมาตรา ๕๐, ๖๙ ทวิ, ๖๙ ตรี และ ๗๐ กำหนดให้หักภาษี ณ
ที่จ่ายหรือไม่ ? หากกำหนดไว้ก็ให้หักไปตามนั้น
๒.
หากไม่กำหนดให้หักภาษี
ณ ที่จ่ายก็ให้ดูคำสั่งที่ ท.ป. ๔/๒๕๒๘ ว่ากำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
หากกำหนดให้หักก็ให้หักตามนั้น
๓.
หากไม่มีการกำหนดไว้ใน
๑. และ ๒. แสดงว่าไม่ต้องหักภาษี
ณ ที่จ่าย
๔.
หากเป็นกรณีผู้มีเงินได้ไม่ต้องเสียภาษีหรือได้รับยกเว้นภาษี
ผู้จ่ายเงินได้ก็ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แม้จะเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ ๑. หรือ ๒.
ก็ตามหากผู้รับเงินไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีหรือได้รับยกเว้น
ผู้จ่ายเงินก็ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น
จ่ายเงินให้กับมูลนิธิสมาคมที่เป็นองค์การสาธารณกุศลตามประกาศของกระทรวงการคลัง
ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะมูลนิธิสมาคมดังกล่าวไม่ถือเป็นบริษัท ไม่ต้องเสียภาษี
หรือกรณีได้รับยกเว้นภาษีเช่น ผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ฯ
เงินปันผลได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นบริษัทผู้จ่ายเงินปันผลไม่ต้องหักภาษี ณ
ที่จ่าย
วิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
ตามมาตรา ๑๙-๒๗ โดยทั่วไปจะมีการออกหมายเรียก
วิธีนี้เป็นสภาพบังคับโดยให้อำนาจพนักงานประเมิน และเป็นวิธีที่มีโทษคือผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีต้องเสียภาษีเพิ่มเป็นเบี้ยปรับ
และเงินเพิ่ม และมีโทษทางแพ่ง รวมถึงอาจมีโทษทางอาญา
สามารถแสดงความคิดเห็นกันได้นะครับ สำหรับบล็อกนี้ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบล็อกนะครับ เพราะเป็นงานที่ที่ได้ริเริ่มขึ้นเอง ไม่ได้ไปลอกเลียนใครมา เพียงแต่ฟังคำบรรยายแล้วนำมาถอดในลักษณะพิเศษ แต่ผู้เยี่ยมชมสามารถนำเอกสารชุดนี้ไปตัดต่อ เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมได้ตามสบายนะครับ อนุญาตเต็มที่เลย
ตอบลบ